
น้ำหอมและสารหอม ถูกค้นพบมานานกว่า 3,000 ปี ไม่พบหลักฐานที่มาที่แน่ชัด
แต่นักโบราณคดีบ่งชี้ได้ถึงร่อยรอยทางประวัติศาสตร์ที่ชี้ชัดซึ่งได้จากภาพ Hieroglyphics
อักษรภาพผนังสลักลงบนแผ่นหินตามผนังถ้ำต่างๆนั้น ระบุถึงการปรุงเครื่องหอมเพื่อนำมาใช้ในพระราชพิธีสำคัญๆต่างๆ
โดยเฉพาะการเก็บรักษาความสมบูรณ์ของมัมมี่ ซึ่งมีความเชื่อของชาวอียิปต์โบราณว่า กลิ่นหอมจะนำมาซึ่ง”ความสุขที่เป็นนิจนิจรันดร์”
ในยุคอียิปโบราณเครื่องหอมจึงถูกนำมาใช้ในรูปแบบของกำยาน (incense) เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีเครื่องมือในการสกัด
กำยานและเครื่องหอมถือเป็นของหายาก และล้ำค่ามากเทียบเท่ากับอัญมณีซึ่งแน่นอนว่ามีราคาสูงกว่าทองคำด้วยซ้ำ
เพราะในอดีตหลักการของน้ำหนักถูกนำมาใช้เปรียบเทียบมูลค่า
ด้วยเหตุนี้ในยุคแรกๆ กำยานจึงถูกนำมาใช้เฉพาะในพระราชพิธีสำคัญๆ
และใช้สำหรับฟาโรห์เท่านั้น จึงได้มีการบรรจุเครื่องหอมลงไปพร้อมกับร่างกษัตริย์ที่อยู่ในรูปของมัมมี่
ใช้ในการประกอบพิธีบูชาเทพเจ้า จึงนับว่าในสมัยนั้นเครื่องหอมถือเป็นสิ่งเฉพาะที่ผู้มีสิทธิ์ใช้ได้จะมีเพียงฟาโรห์และนักบวชเท่านั้น

ชาวเมโสโปเตเมีย ค้นพบกลไกความหอมที่เกิดจากการ”เผา” คือนำยางไม้ ขี้ผึ้ง เปลือกไม้ ดอกไม้ มาเผาเพื่อให้เกิดกลิ่น
ชาวบ้านมักนำยางไม้ที่มีกลิ่นต่างๆมาผสมรวมกันแล้วนำมาทาตัว
กรรมวิธีการทำกำยาน คือจะนำส่วนผสมหลักจำพวกยางสนที่ให้กลิ่นหอม มาบดรวมกันแล้วนำไปเผาบนถ่านหิน หรือนำมาผสมเข้ากับผลไม้แห้ง เช่นลูกเกด อินทผลัม
แล้วจึงปั้นให้เป็นก้อนกลม ๆ ก่อนที่จะนำไปจุดไฟเพื่อให้กลิ่นหอมของกำยานเป็นควันฟุ้งกระจายออกมาในอากาศ
ตามหลักฐานพบว่าราชินีอียิปต์ในสมัยนั้น พระนาม Hatshepsut ทรงคลั่งใคร้ หลงใหลในกลิ่นหอม พระองค์ได้มีการปรุงน้ำหอมหลากหลายกลิ่นจากดอกไม้ที่นำมาผสมรวมกัน

ในศตวรรษที่ 16 น้ำหอมได้แพร่หลายมาสู่ฝรั่งเศส พระราชินีแคทเธอรีน Catherine de’Medici ทรงหลงใหลในกลิ่นหอม และต้องการที่จะพัฒนากินหอมใหม่ใหม่ ถึงกับสรรหาวัตถุดิบในการผลิตน้ำหอมอย่างหลากหลายทั่วประเทศ พระองค์ประทานตำแหน่งช่างปรุงน้ำหอมส่วนพระองค์ สร้างการทดลองห้องทดลองในพระราชวังเพื่อการผลิตน้ำหอมโดยเฉพาะ นี่คือจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมน้ำหอม มาจนถึงยุคปัจจุบันนี้ ซึ่งในสมัยนั้นมีการผลิต ถุงมือ ถุงน้ำหอม เป็นยุคแห่งแฟชั่นของของถุงมือหอมเลยทีเดียว ทำให้ ” สภาของเทรนท์ ” ( Council of trent ) เปิดจำหน่ายน้ำหอมเป็นธุรกิจสมัยนั้นเนื่องจากความต้องการที่มหาศาล
ในศตวรรษที่ 17 กระบวนการขั้นตอนการสกัดน้ำหอมเริ่มที่จะทันสมัยมาขึ้น มีการคิดค้นกรรมวิธีมากมาย ให้ได้มาซึ่งกลิ่นยอดนิยม อย่าง ซีเวต (Civet) และมัส (Musk) เป็นกระแสแฟชั่นที่นิยมมาก ด้วยกลิ่นที่หอมหวานของดอกไม้และผลไม้ มีกลิ่นใหม่ๆกำเนิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสมัยนั้นจะนำไขสัตว์ มาใส่ในถาดแล้วนำดอกไม้ มาวางเรียงทับเพื่อให้เกิดเป็นกลิ่นที่คงทนมากยิ่งขึ้น นับได้ว่าเป็นยุคบุกเบิกกระบวนการการสกัดที่ได้มาซึ่งความหอมที่ติดทนนาน และได้กลายเป็นแฟชั่นที่ได้รับความพึ่งพอใจในกลิ่นที่หอมหวาน และเกิดเป็น”หัวน้ำหอม”หรือ”แม่กลิ่น”ในยุคนั้น
ในศตวรรษที่ 18 มีการ ผลิตขวดน้ำหอม เพือใช้ในอุตสาหกรรมนี้ มีการเติมน้ำหอมลงไปในถ่านร้อนๆ เพื่อให้เกิดกลิ่นหอม ในวันที่เรียกกันว่า “Ash Wednesday” เถ้าถ่านแห่งวันพุธ ความเจริญก้าวหน้าในด้านอุตสาหะกรรมเคมี จนกระทั่งในศตวรรษที่ 19 ทำให้มีการผลิตน้ำหอมสังเคราะห์ การผลิตน้ำหอมในเชิงทางการค้าได้อุบัติขึ้นในฝรั่งเศส ณ.เมืองกราเซ (Grasse) น้ำหอมความหรูหราความก้าวหน้าเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความรุ่งเรืองในศตวรรษที่ 20 จนได้เข้าสู่สมรภูมิการค้าที่ปราศจากความปราณีในยุคปัจุบัน

จุดเริ่มต้นของ ฟีโรโมน(Pheromone)
จุดเริ่มต้นที่มาของ “ฟีโรโมน” มาจากการสังเกตุพฤติกรรมของแมลง ซึ่งพบว่าแมลงบางชนิดจะปล่อยสารชนิดหนึ่งออกมาเพื่อเรียกความสนใจจากเพศตรงข้าม
พฤติกรรมบางอย่างถูกใช้ร่วมกับฟีโรโมนอย่างมหัศจรรย์ ยกตัวอย่างเช่น พฤติกรรมการผสมพันธุ์ของผึ้งนางพญากับผึ้งตัวผู้ ซึ่งจะผสมพันธุ์กันกลางอากาศ ก่อนที่จะมีการผสมพันธุ์
ผึ้งตัวผู้จะบินออกไปรวมกลุ่มกันก่อน “จุดรวมผึ้งตัวผู้” ทันทีที่ได้กลิ่นจากผึ้งนางพญา ผึ้งตัวผู้จะบินตามขึ้นไปอย่างรวดเร็ว
ตัวแรกที่บินไปถึงก่อนจะมีโอกาสได้ผสมพันธุ์กับผึ้งนางพญา เมื่อผสมพันธุ์เสร็จแล้ว อวัยวะสืบพันธุ์จะขาดออกจากตัว ทำให้ตัวผู้ตกลงมาตาย นางพญาผึ้งจะสลัดอวัยวะออกทันทีและสัมพันธ์กับผึ้งตัวผู้ตัวต่อไปจนครบ 10 ตัว จึงจะบินกลับรัง
กลิ่นที่นางพญาผึ้งปล่อยออกมานั่นแหละคือกลิ่นสารเคมีชนิดหนึ่ง หรือที่เรียกว่า “ฟีโรโมน”

ฟีโรโมน คืออะไร
ฟีโรโมน(Pheromone) เป็นคำที่มาจาก คำภาษากรีก มาจากรากศัพท์ มีคำ2 ด้วยกันคือ
Pherein แปลว่า นำมาหรือส่งต่อไปให้
Hormone แปลว่า คือ สิ่งเร้าเป็นต้นเหตุของอาการตื่นเต้น ตื่นตัว ปลุกเร้าอารมณ์และความรู้สึก
ฟีโรโมน (Pheromone) เป็นสารเคมีในร่างการชนิดหนึ่งที่ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สัตว์และพืช สามารถผลิตขึ้นเองได้ด้วยการหลั่งหรือขับออกมา ทำให้เกิดการกระตุ้นตอบสนองมีผลต่อพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตในสปีชี่ส์เดียวกัน ฟีโรโมนจึงเป็น สารเคมีรูปแบบหนึ่ง ที่สามารถเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นเช่น ฟีโรโมนเตือนภัย ฟีโรโมนย่อยอาหาร ฟีโรโมนเพศ เป็นต้น
ฟีโรโมนเพศสามารถไปกระตุ้นปลายประสาทบางส่วนในสมอง ส่งผลต่อพฤติกรรมและปฏิกิริยาต่างๆในมนุษย์
นักวิทยาศาสตร์อธิบายถึง ฟีโรโมน เป็นกลไกของสมองส่งผลต่อฮอร์โมนเพื่อดึงดูดความสนใจของเพศตรงข้าม เป็นสิ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้น เพื่อให้เกิดการสืบทอดดำรงเผ่าพันธุ์ ซึ่งสัมพันธ์กับสมองส่วนที่คุมอารมณ์ความรู้สึก สัญชาตญาณแต่กลไกการทำงานของสมองส่วนนี้มีความไวมากกว่าสมองส่วนที่เป็นตรรกะ ความคิด ความเฉลียวฉลาด จึงเป็นที่มาของการสรุปข้อสันนิษฐานว่า การรับกลิ่นของคนเรา มาก่อนตรรกกะการใช้เหตุผล ชอบก็คือชอบ ไม่มีเหตุผลที่จะต้องชอบ
เมื่อกลิ่นกายหรือฟีโรโมน เป็นส่วนสำคัญของการสืบพันธุ์ จึงไม่น่าแปลกใจที่นักปรุงน้ำหอม Perfumer จะต้องสรรหาวัตถุดิบที่มีลักษณะพิเศษของกลิ่นที่มีความเทียบเคียงหรือคล้ายกับกลิ่นของฟีโรโมนที่มนุษย์สร้างขึ้น
กลิ่นอวัยวะใต้ร่มผ้า ตั้งใจจะให้ออกมาคล้ายกลิ่นเป้ากางเกงของคุณผู้ชาย มีส่วนผสมของกลิ่นกล้วยไม้และเห็ดทรัฟเฟิล น้ำหอมท่านหลายๆแบรนด์ถูกนำมาทำเลียนแบบกลิ่นเหงื่อที่อาบชโลมผิวกาย โดยใช้ยี่หร่าเป็นส่วนผสมให้กลิ่นสาบคล้ายรักแร้มนุษย์
และนำกลิ่นจากต่อมบริเวณใต้ท้องกวางชะมด (musk) สำรอกของปลาวาฬ sperm whale(ambergris) และกลิ่นจากต่อมใกล้ทวารหนักของชะมดเช็ด (civet) สกัดเพื่อมาใช้ในส่วนผสมมากมาย กลิ่นเหล่านี้เป็นกลิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะและใช้แค่เพียงนิดเดียวสามารถชูกลิ่นหอมประเภทอื่นๆให้กลมกล่อม ให้ละลายมากขึ้นเสมือนเป็นผงชูรสของความหอมเลยก็ว่าได้ และยังช่วยให้น้ำหอมนั้นติดทนนานมากยิ่งขึ้น
น้ำหอมกลิ่นชะมด (Musk) ได้มาจากต่อมของชะมดตัวผู้ ตรงบริเวณท้องและอวัยวะเพศ muṣká คือ อัณฑะ เป็นแหล่งรวมสารหลายอย่างที่มีกลิ่นคล้ายๆกันแม้ว่าจะมีโครงสร้างทางเคมีต่างกัน และอาจจะเป็นสารที่ได้จากสัตว์อื่นที่ไม่ใช่กวางมี อาจจะได้จากพืช เป็นกลิ่นที่เชื่อว่าคล้ายกับกลิ่นฟีโรโมนมนุษย์
ชะมดเช็ด (civet) ชะมดเช็ด ชะมดเชียง มูสัง (Indian small civet) เป็นชะมดขนาดเล็ก ขาสั้น หูทั้งสองข้างอยู่ใกล้กัน เมื่อมองไกล ๆ อาจคล้ายแมว ลำตัวสีน้ำตาลเหลืองมีจุดเล็กๆสีดำทั้งตัว ปลายหางมีสีขาว ขาหลังมีต่อมกลิ่นที่ใช้สื่อสารระหว่างพวกเดียวกัน หรือลักษณะกลิ่นคล้ายฟีโรโมน


Ambergris อัมพันทะเล หรือสำรอกปลาวาฬ
Ambergris อัมพันทะเล หรือสำรอกปลาวาฬ คือ “อึ/อ้วก” ของวาฬ (ขึ้นอยู่กับว่ามันจะออกมาทางไหน) ขับถ่ายออกมาจาก “วาฬหัวทุย” โดยวาฬชนิดนี้มักกิน “หมึก” ไขมันหมึกที่ย่อยสลายไม่ได้จะถูกสะสมบริเวณลำไส้และถูกขับถ่ายออกหรือไม่ก็สำรอกออกมา โดยเมื่อแรกที่ถูกขับจะมีกลิ่นเหม็น แต่เมื่อเวลาผ่านไปเป็นเดือนหรือเป็นปี ได้เกิดปฏิกิริยากับอากาศแสงแดด ระหว่างล่องลอยอยู่ในทะเล แต่ด้วยค่าความถ่วงจำเพาะที่มีน้อยกว่าน้ำทะเลจึงมีคุณสมบัติทางเคมีเปลี่ยนไป ทำให้มีลักษณะเป็นก้อนแข็งสีขาว น้ำตาล เทา หรือดำ ตามระยะเวลาในการทำปฏิกิริยาจนหายเหม็นแล้ว จะมีกลิ่นหอมคล้ายสารจำพวกน้ำมันหอมระเหย ใช้เป็นวัตถุดิบในการสกัดหัวน้ำหอม หรือนำไปแต่งกลิ่นในอาหารหรือไวน์ เป็นที่ต้องการของตลาด จึงทำให้อำพันมีมูลค่าสูงมากถึงกิโลกรัมละหลายหมื่นบาท

